ประวัติฟุตบอล



อ้างอิงจาก :https://wallpaperscraft.com/download/ball_
football_old_ra  gged_99078/3840x2400


       


   ฟุตบอลไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเริ่มเกิดขึ้นที่ประเทศใด เพราะขาดหลักฐานที่แน่นอน แต่ฟุตบอลเป็นกีฬาแบบแผนอย่างแท้จริงเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษ   เนื่องจากประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431



หลังจากนั้นเองที่ฟุตบอลได้เข้ามากำเนิดใประเทศไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ส่งพระเจ้าหลานเธอ และข้าราชบริพารได้ศึกษาวิชาการด้านต่างๆที่ประเทศอังกฤษ และผู้นำกีฬาฟุตบอลกลับมายังประเทศไทยเป็นคนแรกคือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี(สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)หรือ ครูเทพได้นำฟุตบอลเข้ามาเล่นในประเทศไทย แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆมากมาย หลายคนกล่าวว่า ไม่เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศร้อน เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศหนาวมากกว่า และทำให้เกิดอันตรายของผู้เล่นและผู้ชมได้ง่าย ภายหลังช้อกล่าวหาดังกล่าวก็ได้ค่อยหมดไปจนกระทั่งกลายเป็นกีฬายอดนิยม


       TIME  SCAPE OF FOOTBALL THAI



⧪   พุทธศักราช  2440  

รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จนิวัติพระนครรับความสนใจมาก
ขึ้นจากบรรดาข้าราชการ    บรรดาครูอาจารย์ ตลอดจนชาวอังกฤษ
ในประเทศไทยและผู้สนใจชาวไทยจำนวนมากขึ้นเป็น
ลำดับ กอร์ปกับครูเทพท่านได้เพียรพยายามปลูกฝังการเล่นฟุตบอล
ในโรงเรียนอย่างจริงจังและแพร่หลายมากในโอกาสต่อมา





⧪  พุทธศักราช  2443

การแข่งขันฟุตบอลเป็นทางการครั้งแรกของ
ไทยได้เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์



ณ สนามหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกายและประกอบงานพิธีต่างๆ
การแข่งขันฟุตบอลคู่ประวัติศาสตร์ของไทย ระหว่าง ชุดบางกอก
กับ ชุดกรมศึกษาธิการจากกระทรวงธรรมการหรือเรียกชื่อการแข่งขันครั้งนี้ว่า
การแข่งขันฟุตบอลตามข้อบังคับของแอสโซซิเอชั่นเพราะสมัยก่อนเรียกว่า 
แอสโซซิเอชั่นฟุตบอล” (ASSOCIATIONS FOOTBALL) 
สมัยปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า การแข่งขันฟุตบอลของสมาคมหรือ
ฟุตบอลสมาคม” ผลการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษดังกล่าวปรากฏว่า 
ชุดกรมศึกษาธิการเสมอกับ ชุดบางกอก” 2-2 (ครึ่งแรก 1-0)
ต่อมาครูเทพท่านได้วางแผนการจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนอย่างเป็น
ทางการพร้อมแปลกติกาฟุตบอลแบบสากลมา
ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งนี้ด้วย





⧪ พุทธศักราช  2444 

หนังสือวิทยาจารย์เล่มที่ 1 ตอนที่ 7 เดือนพฤษภาคม
ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เรื่องกติกาการแข่งขันฟุตบอลสากล
และการแข่งขันอย่างเป็นแบบแผนสากล ก ารแข่งขันฟุตบอล
นักเรียนครั้งแรกของประเทศไทย นี้ผู้เข้าแข่งขัน
ต้องเป็นนักเรียนชายอายุไม่เกิน 20 ปี 
ใช้วิธีจัดการแข่งขันแบบน็อกเอาต์ หรือแบบแพ้คัดออก
 (KNOCKOUT OR ELIMINATIONS) 
ภายใต้การดำเนินการจัดการแข่งขันของ  กรมศึกษาธิการ” 
สำหรับทีมชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปี จะได้รับโล่รางวัลเป็นกรรมสิทธิ์





⧪ พุทธศักราช  2450-2452

ผู้ตัดสินฟุตบอลชาวอังกฤษชื่อ มร.อี.เอส.สมิธอดีตนักเตะ
อาชีพได้มาทำการตัดสินในประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี 
ทำให้คนไทยโดยเฉพาะครู-อาจารย์ และผู้สนใจ
ได้เรียนรู้กติกาและสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาก



⧪ พุทธศักราช  2451

มีการจัดการแข่งขัน เตะฟุตบอลไกลครั้งแรก



⧪ พุทธศักราช  2452


รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสวรรคต เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม  นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่
ซึ่งต่อมาในปีนี้ กรมศึกษาธิการก็ได้ประกาศใช้วิธีการแข่งขัน 
แบบพบกันหมด” (ROUND ROBIN)แทนวิธีจัดการแข่งขันแบบแพ้คัดออก
สำหรับคะแนนที่ใช้นับเป็นแบบแคนาดา (CANADIAN SYSTEM)
และยังคงใช้จนถึงปัจจุบันต่อมารัชกาลที่ 6 พระองค์ทรง
มีความสนพระทัยในกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างยิ่งถึงกับทรงกีฬาฟุตบอลเองและ
ทรงตั้งทีมฟุตบอลส่วนพระองค์เองชื่อทีม เสือป่าและ
ได้เสด็จพระราชดำเนินประทับทอดพระเนตรการแข่งขันฟุตบอล
เป็นพระราชกิจวัตรเสมอมา โดยเฉพาะมวยไทยพระองค์ทรงเคย 
ปลอมพระองค์เป็นสามัญชนขึ้นต่อยมวยไทยจนได้ฉายาว่า พระเจ้าเสือป่า” 
พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถมาก จนเป็นที่ยกย่องของพสกนิกรทั่วไป
จนตราบเท่าทุกวันนี้จากพระราชกิจวัตรของพระองค์รัชกาลที่ 6 ทางด้านฟุตบอล
นับได้ว่าเป็นยุคทองของไทยอย่างแท้จริงอีกทั้งยังมีการเผยแพร่ข่าวสาร หนังสือพิมพ์
 และบทความต่างๆทางด้านฟุตบอลดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้




⧪ พุทธศักราช  2457 


พระยาโอวาทวรกิจ” (แหมผลพันชิน) หรือนามปากกา 
ครูทองได้เขียนบทความกีฬา เรื่องจรรยาของผู้เล่นและ
ผู้ดูฟุตบอลและ คุณพระวรเวทย์ พิสิฐ” (วรเวทย์ ศิวะศริยานนท์) 
ได้เขียนบทความกีฬา เรื่องการเล่นฟุตบอลและ
พระยาพาณิชศาสตร์วิธาน” (อู๋พรรธนะแพทย์) 
ได้เขียนบทความกีฬาที่ประทับใจชาวไทยอย่างยิ่ง 
เรื่องอย่าสำหรับนักเลงฟุตบอล


⧪ พุทธศักราช  2458


มีการแข่งขันระหว่างชาติครั้งแรกของประเทศไทย 
เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน 
ณ สนามราชกรีฑาสโมสร(สนามม้าปทุมวันปัจจุบัน) ระหว่าง
ทีมชาติสยามกับทีมราชกรีฑาสโมสรต่อหน้าพระที่นั่งโดยผู้ตัดสิน
คือมร.ดักลาส โรเบิร์ตสันซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่า
ทีมชาติสยามชนะทีมราชกรีฑาสโมสร 2-1ประตูและ
การแข่งขันครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม  เป็นการแข่งขันระหว่างชาตินัดที่
แบบเหย้าเยือน หน้าพระที่นั่ง ณ สนามเสือป่าสวนดุสิตและผลปรากฏว่า
 ทีมชาติสยามเสมอกับทีมราชกรีฑา สโมสร หรือทีมรวมต่างชาติ 1-1 ประตู






Cursors from DressUpMySpace.com

ความคิดเห็น